สภาวะผิดปกติของไฟฟ้ามีหลายรูปแบบ แต่ที่พบบ่อยในประเทศไทยคือปัญหาไฟตก ไฟอ่อน หรือบางครั้งก็เกิดการใช้ไฟเกิน เมื่อเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นอาจทำให้ไฟดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าดับกะทันหัน จนทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โรงงาน และอาคารสถานที่ต่าง ๆ อายุการใช้งานสั้นลง ข้อมูลสูญหาย และอันตรายอย่างอื่นตามมาในอนาคตหากไม่ป้องกัน และแก้ไขอย่างทันท่วงที
สาเหตุของไฟตก ไฟกระชาก
สาเหตุหลักของปัญหาไฟตก ไฟกระชาก แบ่งออกเป็น 4 ข้อ คือ
- ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน หรือสถานประกอบการ
สาเหตุแรกเกิดจากปัญหาภายในครัวเรือนหรืออาคารสถานประกอบการต่าง ๆ เช่น ฟิวส์ขาดจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านฟิวส์มากเกินพิกัด หรือไฟเกิน ทำให้ฟิวส์ละลายขาด ส่งผลให้ไฟดับทั้งวงจร สายไฟชำรุดจากการเสื่อมสภาพของสายไฟ สัตว์กัดแทะ หรือการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง จุดต่อสายไฟหลวมจากการต่อสายไฟที่ไม่แน่นหนา ส่งผลให้เกิดประกายไฟ และไฟตก และอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดจากมอเตอร์ในอุปกรณ์ไฟฟ้าทำงานหนัก หรือจากการลัดวงจร - ระบบไฟฟ้าสาธารณะ
สาเหตุต่อมาคือระบบไฟฟ้าสาธารณะขัดข้องจนส่งผลมาถึงปลายทางผู้รับกระแสไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้าขัดข้องจากฟ้าผ่า สภาพอากาศเลวร้าย หรือการใช้ไฟเกินกำลัง สายไฟฟ้าแรงสูงชำรุดจากสัตว์ป่ากัดแทะ ต้นไม้ล้มทับ สภาพอากาศทำให้เสียหาย หรือเสื่อมสภาพตามกาลเวลา และระบบไฟรั่วจากการติดตั้งระบบไฟฟ้าไม่ถูกต้อง หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด - สภาพอากาศ
สภาพอากาศเป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ และยังเป็นสาเหตุอันดับแรก ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาไฟตก ไฟกระชากอยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นฟ้าผ่าเนื่องจากกระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่าสามารถไหลเข้าสู่ระบบไฟฟ้าทำให้เกิดไฟกระชาก และไฟตก พายุลมแรงจากพายุอาจทำให้เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟขาด หรือต้นไม้ล้มทับสายไฟ และเมื่อฝนตกหนัก น้ำฝนอาจซึมเข้าสู่จุดต่อสายไฟทำให้เกิดไฟรั่ว และไฟตกได้ - สาเหตุอื่น ๆ
นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ภาวะไฟฟ้าผิดปกติอาจเกิดจากการใช้ไฟเกินโดยใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟสูงพร้อมกันหลายเครื่อง หรือแรงดันไฟฟ้าในระบบไม่เสถียรทำให้ไฟอ่อน เป็นต้น
ทำอย่างไรเมื่อเกิดปัญหาไฟตก ไฟกระชาก
- ดึงปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าออกจากปลั๊กไฟ
เมื่อไฟตก หรือไฟกระชาก ควรยกเบรกเกอร์ไฟลง หากเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องไหนเสียบปลั๊กอยู่ควรถอดออกก่อน ยกเว้นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้งานตลอดเวลาอย่างตู้เย็น หรือเครื่องช่วยหายใจ การดึงปลั๊ก หรือปิดสวิตช์จะช่วยป้องกันความเสียหายจากไฟกระชากเมื่อระบบไฟกลับมาทำงานปกติอีกครั้ง และเพื่อตัดกระแสไฟก่อนตรวจสอบระบบไฟภายในอาคารด้วย - ตรวจสอบสาเหตุของปัญหา
ตรวจสอบสภาพฟิวส์ สายไฟ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านว่ามีรอยไหม้ หรือชำรุดหรือไม่ หากไม่พบร่องรอยชำรุดหรือไม่พบสาเหตุของปัญหาควรแจ้งช่างไฟมาตรวจสอบจะดีที่สุด - ตรวจสอบความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้า
ตรวจสอบทันทีว่ามีอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นใดได้รับความเสียหายจากการเกิดไฟตก หรือไฟกระชากหรือไม่ หากพบความเสียหายต้องแจ้งศูนย์บริการของอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นเพื่อแจ้งซ่อมทันที ไม่ควรปล่อยไว้ หรือฝืนใช้งานต่อ - เตรียมพร้อมเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต
เมื่อเกิดปัญหาขึ้นครั้งหนึ่งเราไม่ควรนิ่งนอนใจแต่ต้องมองหาวิธีป้องกันไฟตก ไฟเกิน ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟตก ไฟกระชาก เช่น เครื่องสำรองไฟ (UPS) เบรกเกอร์ที่เหมาะสมกับกำลังไฟ เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน มอก. หมั่นดูแลรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟสูงพร้อมกันหลายเครื่อง และติดตั้งสายดิน
ข้อควรระวังในการแก้ปัญหาเมื่อเกิดระบบไฟขัดข้องก็คือไม่ควรสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟที่เปียกน้ำ ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณที่มีไฟฟ้าลัดวงจร และไม่ควรซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเองหากไม่มีความรู้ หรือความชำนาญ ทางที่ดีควรรีบให้ช่างผู้ชำนาญมาตรวจสอบและแก้ไขจะดีที่สุด
วิธีป้องกันปัญหาไฟตก ไฟกระชากในครัวเรือน
- ตรวจสอบระบบไฟภายในบ้านสม่ำเสมอ
หมั่นตรวจสอบสอบสภาพสายไฟ ฟิวส์ และจุดต่อสายไฟ ว่ามีรอยชำรุด หรือหลวมหรือไม่ ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ว่ามีอุปกรณ์ใดชำรุดหรือไม่ หากพบปัญหาหรือมีข้อสงสัยควรปรึกษาช่างไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่มีความชำนาญ - ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟตก ไฟกระชาก
ป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหายด้วยการติดตั้งเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าเพื่อปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ ช่วยป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าจากไฟตก หรือการใช้ไฟเกิน ติดตั้งเครื่องสำรองไฟ (UPS) ช่วยจ่ายไฟฟ้าสำรองเมื่อไฟดับ เพื่อให้สามารถปิดอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ตามขั้นตอนอย่างเหมาะสม รวมถึงติดเบรกเกอร์ที่ช่วยตัดกระแสไฟฟ้าโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟกระชาก ช่วยป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายและป้องกันอันตรายจากระบบไฟฟ้าลัดวงจร - เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน
เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากมอก. หรือมีระบบป้องกันไฟตก ไฟกระชาก
- ดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ
หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำ ตรวจสอบสภาพสายไฟ และปลั๊กไฟ และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ได้ใช้งาน - หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟสูงพร้อมกันหลายเครื่อง
การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟสูงพร้อมกันหลายเครื่อง อาจทำให้เกิดปัญหาไฟตก ไฟกระชาก หรือไฟอ่อนกำลังจนไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ทำให้ไฟดับ หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร - ติดตั้งสายดิน
สายดินช่วยทำให้กระแสไฟฟ้าส่วนเกินไหลสู่ดิน ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ช่วยป้องกันอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สิน - แจ้งการไฟฟ้าเมื่อพบเห็นสายไฟชำรุด
แจ้งการไฟฟ้าทันทีเมื่อพบเห็นสายไฟชำรุด เสาไฟฟ้าล้ม หรือมีเสียงผิดปกติบริเวณหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อให้การไฟฟ้าส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นอย่างไฟตก ไฟอ่อน ไฟเกิน ไม่ใช่เรื่องที่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนอกจากจะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อายุการใช้งานสั้นลงแล้ว ยังทำให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิต และทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เมื่อไฟตก หรือไฟกระชากเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในบ้าน หรือสำนักงาน อย่าปล่อยไว้เพราะอาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายได้ ควรรีบแก้ไขทันทีโดยตรวจสอบระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ติดตั้งเครื่องกันไฟกระชาก หรือเปลี่ยนสายไฟที่เสื่อมสภาพ หากปัญหายังคงอยู่ควรเรียกช่างไฟฟ้ามืออาชีพมาตรวจสอบ และแก้ไขอย่างถูกวิธีเพื่อความปลอดภัยในระยะยาว
บริษัท สเตเบิล อิเล็กตริก ซัพพลาย จำกัด ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ อย่างอุปกรณ์ Stabilizer เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า, UPS เครื่องสำรองไฟ, Battery เพื่อแก้ไขปัญหาไฟตก ไฟอ่อน ไฟเกิน แปลงไฟ 220v ราคาถูก พร้อมบริการหลังการขาย และบริการงานซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ ดำเนินการด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีความรู้ และประสบการณ์โดยเฉพาะ เพื่อให้คุณมั่นใจมากกว่าเมื่อต้องการเลือกซื้อหม้อแปลงไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นแบบเฟสเดียว หรือหม้อแปลง 3 เฟส เราพร้อมให้บริการแบบครบวงจร ภายใต้คอนเซปต์ "คุณภาพบริการ คืองานของเรา"
สนใจสั่งซื้อหม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า รวมถึงบริการซ่อมได้ที่
โทร : 02-742-1002 ถึง 5 มือถือ : 083-419-6935 อีเมล : info@stable.co.th